วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การคำนวณสูตรเอมพิริคัล และสูตรโมเลกุล

สูตรเอมพิริคัล =  น้ำหนักของสาร A  :   น้ำหนักของสาร B 
                        มวลอะตอมสาร A   :   มวลอะตอมสาร B


ในการคำนวณสูตรเอมพิริคัลนั้น จำเป็นต้องทราบข้อมูลต่อไปนี้
  1. สารนั้นมีธาตุใดเป็นองค์ประกอบ
  2. ธาตุเหล่านั้นมีมวลอะตอมเท่าใด
  3. ทราบน้ำหนักของธาตุที่เป็นองค์ประกอบแต่ละชนิด
  4. คำนวณหาสูตรเอมพิริคัล
  5. ทราบมวลโมเลกุล
  6. สูตรโมเลกุล
จากนั้น ในขั้นตอนการคำนวณสูตรเอมพิริคัล มีข้อบังคับดังนี้
   •  ตัวเลขทุกตัวควรมีจุดทศนิยมอย่างน้อย 2 ตำแหน่ง
   •  การปัดจุดทศนิยม
           - 0.1 – 0.2 ปัดทิ้ง
           - 0.3 – 0.7 ห้ามปัด
           - 0.8 – 0.9 ปัดขึ้น 1
   •  ให้นำตัวเลขที่น้อยที่สุดหารตลอด
   •  นำเลขจำนวนเต็มมาคูณจนกระทั่งปัดได้

ตัวอย่าง แก๊สสีน้ำตาลแดง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดมลพิษในอากาศ ประกอบด้วย ไนโตรเจน
2.34 กรัม และ ออกซิเจน 5.34 กรัม จงหาสูตรเอมพิริคัลของแก๊สนี้
วิธีทำ จากโจทย์ เราทราบธาตุองค์ประกอบ , น้ำหนักของธาตุแต่ละชนิด เนื่องจาก มวลอะตอมของ N = 14.00 , มวลอะตอมของ O = 16.00
            อัตราส่วน                              
                                                       N O
                                                  2.34 5.34
                                                  14.0   16.00
                                                0.167 0.334
        นำเลขตัวน้อยหารตลอด 0.167 0.334
                                                0.167    0.167
                                                  1.00 2.00
        สูตรเอมพิริคัลของแก๊สนี้ คือ NO 2
________________________________________



ในการหาสูตรโมเลกุล เราจำเป็นต้องทราบสูตรเอมพิริคัล และมวลโมเลกุลของสารนั้นก่อน แล้วจึงทำการหาค่า n และสูตรโมเลกุล จากความสัมพันธ์

                       มวลโมเลกุล = ( มวลของสูตรเอมพิริคัล ) x n
             สูตรโมเลกุล = ( สูตรเอมพิริคัล ) n
                                         ถ้า n มีค่า 0.5 ขึ้นไป ปัดขึ้น 1
                                                        0.5 ลงมา ปัดทิ้ง


ตัวอย่าง การวิเคราะห์สารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่ง เพื่อหาปริมาณธาตุองค์ประกอบพบว่า มีคาร์บอน 18.23 % ไฮโดรเจน 2.11 % และ คลอรีน 80.76 % โดยน้ำหนัก ถ้ามวลโมเลกุลของสารนี้เป็น 135 จงหาสูตรโมเลกุล
วิธีทำ    สมมติว่า มีสารทั้งหมด 100 กรัม
           เนื่องจาก มวลอะตอมของ C = 12.00 , มวลอะตอมของ H = 1.00 ,
           มวลอะตอมของ Cl = 35.50
           อัตราส่วน                                      C : H : Cl
                                                        18.23 : 2.11 : 80.76
                                                         12.00 1.00 35.50
                                                          1.52 : 2.11 : 2.27
                  นำเลขตัวน้อยหารตลอด 1.52 : 2.11 : 2.27 
                                                          1.52 1.52 1.52
                                                          1.00 : 1.40 : 1.50
                          คูณด้วย             2    2 .00 : 3.0 : 3.0 
    สูตรเอมพิริคัลของแก๊สนี้ คือ C 2 Cl 
    จะได้ มวลสูตรเอมพิริคัลของ C 2 Cl 3 = 13 5 .50
                                         จาก มวลโมเลกุล = ( มวลของสูตรเอมพิริคัล ) x n
                                                   135.00 = ( 135.50 ) x n
                                                             n = 1
                             สูตรโมเลกุลของแก๊สนี้ คือ C 2 H 3 Cl3
________________________________________________

เคมีคืออะไร?

 

    เคมี คือศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับสสาร ความสามารถของสสาร การแปรรูปของสสาร และการปฏิสัมพันธ์กับพลังงานและสสารด้วยกันเอง เนื่องจากความหลากหลายของสสาร ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของอะตอม นักเคมีจึงมักศึกษาโครงสร้าง คุณสมบัติ และการจัดเรียงอะตอมเพื่อรวมตัวกันเป็นโมเลกุล เช่น แก๊สโลหะ หรือผลึกคริสตัล เคมีปัจจุบันได้ระบุว่าโครงสร้างของสสารในระดับอะตอมนั้นถือเป็นตัวกำหนดธรรมชาติของสสารทุกชนิด

สาขาย่อยของวิชาเคมี 

    วิชาเคมีมักแบ่งออกเป็นสาขาย่อยหลัก ๆ ได้หลายสาขา นอกจากนี้ยังมีสาขาทางเคมีที่มีลักษณะที่ข้ามขอบเขตการแบ่งสาขา และบางสาขาก็เป็นสาขาที่เฉพาะทางมาก

เคมีวิเคราะห์
เคมีวิเคราะห์ (Analytical Chemistry) คือการวิเคราะห์ตัวอย่างสาร เพื่อศึกษาส่วนประกอบทางเคมีและโครงสร้าง.
ชีวเคมี
ชีวเคมี(Biochemistry) คือการศึกษาสารเคมี ปฏิกิริยาเคมี และ ปฏิสัมพันธ์ทางเคมีที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต
เคมีอนินทรีย์
เคมีอนินทรีย์(Inorganic Chemistry) คือการศึกษาคุณสมบัติและปฏิกิริยาของสารประกอบอนินทรีย์ อย่างไรก็ตามการแบ่งแยกระหว่างสาขาทางอินทรีย์และสาขาอนินทรีย์นั้น ไม่ชัดเจน และยังมีการเหลื่อมของขอบเขตการศึกษาอยู่มาก เช่นในสาขา organometallic chemistry
เคมีอินทรีย์
เคมีอินทรีย์(Organic Chemistry) คือการศึกษาโครงสร้าง, สมบัติ, ส่วนประกอบ และปฏิกิริยาเคมี ของสารประกอบอินทรีย์
เคมีฟิสิกส์
เคมีเชิงฟิสิกส์(Physical Chemistry) คือการศึกษารากฐานทางฟิสิกส์ของระบบและกระบวนการทางเคมี ตัวอย่างที่เห็นก็เช่น นักเคมีเชิงฟิสิกส์มักสนใจการอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในเชิงของพลังงาน

ตารางธาตุ

ความซื่อสัตย์

ความซื่อสัตย์ (integriry) เป็นพฤติกรรมหรือความสามารถ(competency) อย่างหนึ่งที่มีประโยชน์และมีคุณค่าในความเป็นมนุษย์ของบุคคล ช่วยให้เกิดความไว้วางใจ  น่าเชื่อถือ และเป็นปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการเรียนรู้และดำเนินงานของบุคคลหรือองค์กร

.....การจัดการเรียนการสอนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครูในภาคเรียนที่ 2/2554 มุ่งเน้นในการใช้ความซื่อสัตย์เป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อกำกับกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งในแบบรายบุคคลและแบบทีม โดยมีเกณฑ์เบื้องต้นเป็นแนวทางในการปฏิบัติ 5 ระดับ ดังนี้

ระดับความซื่อสัตย์
1. ระดับตำกว่ามาตรฐานที่กำหนดอย่างมาก
     . ให้ข้อมูลที่บิดเบือนจากจวามจริงเป็นเหตุให้เกิดปัญหาหรือความาเข้าใจผิด
     . หลีกเลี่ยงการตักเตือนหรือแจ้งผู้ที่ทำผิดระเบียบ
     . ปฏิเสธ/ไม่ยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
     . ละเมิดระเบียบหรือกฎเกณฑ์อยู่เสมอ
2. ระดับตำกว่ามาตรฐาน
     . ดูแลและรักษาทรัพย์สินหรือผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นบางครั้ง
     . ตักเตือนหรือแจ้งผู้ทำผิดระเบียบหรือกฎเท่าที่จำเป็น
     . ไม่ประพฤติตนตามระเบียบหรือกฎของส่วนร่วมเป็นบางครั้ง
3. ระดับมาตรฐานที่กำหนด
     . รับฟังและไม่นำข้อมูลของผู้อื่นมาเปิดเผย
     . ดูและและรักษาทรัพย์สินและผลประโยชน์ของส่วนรวมอยู่เสมอ
     . ไม่นำทรัพย์สินของส่วนรวมมาใช้ประโยชน์ส่วนตัว
     . ประพฤติตนตามระเบียบหรือกฎอยู่เสมอ
4. สูงกว่ามาตรฐานที่กำหนด
     . ไม่เปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานที่อาจสร้างความขัดแย้งหรือปัญหาให้เกิดขึ้น
     . ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน และเหมาะสมกับกลุ่มคน เวลา และสถานการณ์
     . ตักเตอืนสมาชิกในทีมเมื่อทำผิดระเบียบหรือกฎ
     . ยอมรับและหาทางแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตนเอง
5. สูงเกินกว่าที่มาตรฐานกำหนด
     . แจ้งผู้เกี่ยวข้องเมื่อพบเห็นผู้ทำผิดระเบียบหรือกฎ
     . ปลุกจิตสำนึกให้สมาชิกทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานมีจรรยาบรรณและคุณธรรมในการทำงาน
     . นำทรัพย์สินของตนเองมาใช้เพื่อใกรทำงานประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด